Search

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่

Advertisements

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่
พระพุทธรูปภายในช่องอุโมงค์

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่

วันนี้จะพาไปเที่ยวที่จังหวัดเชียงใหม่กันครับ แต่อาจจะไปในที่ ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกันนัก นั้นก็คือ วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่ วัดแห่งนี้จะอยู่ใกล้ๆกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวัดที่เข้าไปแล้วทำให้รู้สึกว่า จิตใจสงบขึ้น บรรยากาศเงียบๆ แนะนำเลยครับสำหรับ คนที่จะมาเที่ยวเชียงใหม่ แล้วกำลังหาสถานที่หย่อนใจแบบเงียบสงบแถมบรรยากาศร่มรื่นที่นี่ก็ เหมาะเป็นอย่างยิ่ง ลองหาโอกาศไปเที่ยวกันได้ครับ

ส่วนวิธีการเดินทางไปยัง วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่ นั้นให้มุ่งหน้าไปทางหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วยถนน สุเทพ แล้วให้เลี้ยวซ้ายเข้า ซอยวัดอุโมงค์ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปตามทางหลักจนสุดแล้วเลี้ยวซ้าย วิ่งต่อไปอีกซักระยะก็จะพบวัดอุโมงค์อยู่ทางขวามือ

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่
พระพุทธรูปภายในช่องอุโมงค์

ความเป็นมาคร่าวๆของ วัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์ และสวนพุทธธรรม สองชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกสถานที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ของพุทธนิคม เชียงใหม่แห่งเดียวกัน แต่มีความหมายต่างกัน วัดอุโมงค์(อุโมงค์เถรจันทร์) เป็นชื่อเรียกวัดเก่าที่ "พระเจ้ากือนาธรรมิกราช" ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อถวายเพื่อให้พระมหาเถรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกอาศัย

เหตุการณ์ล่วงผ่านไปอดีต เมื่อปี พ.ศ. 1839 พระยามังรายทรงสร้างอาณาจักรล้านนาร่วมกับพระสหาย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์ปกครองสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง กษัตริย์ปกครองพะเยา มาสร้างเมืองเวียงเหล็ก (บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน) และตั้งชื่อเมืองว่า “นพบุรี ศรีนครพิงค์” ท่านมีความใฝ่ในศาสนาพุทธ จึงทรงทำนุบำรุง ส่งเสริมศาสนาให้รุ่งเรืองในล้านนา ในขณะนั้น ทางฝ่ายพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ส่งคนนิมนต์พระสงฆ์จากลังกามา อาศัยอยู่ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อที่พระสงฆ์ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุโขทัย เมื่อพระยามังรายทราบข่าวดังกล่าว จึงส่งคนไปนิมนต์พระลังกาจาก พระเจ้ารามคำแหง 5 รูป โดยมีพระกัสสปะเถระเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์นี้ โดยจำพรรษาที่วัดการโถม ต่อมาพระยามังรายสร้างวัดเวฬุกัฏฐาราม (ปัจจุบัน คือ วัดอุโมงค์) เมื่อสร้างเสร็จจึงอาราธนาพระมหากัสสปะเถระจำพรรษาที่วัดแห่งนี้

ต่อมาเมื่อพระเจ้ามังรายสวรรคต ศาสนาพุทธขาดการทำนุบำรุง เพราะมัวแต่ทำศึกสงครามกันเองในเชื้อพระวงศ์ในการแย่งชิงราชสมบัติ จนถึงสมัยพระเจ้าผายู ศาสนาพุทธได้รับการฟื้นฟูจนถึงสมัยพระเจ้ากือนาธรรมาธิราช (ประมาณ พ.ศ. 1910) ท่านมีความเลื่อมใสในพระมหาเถระจันทร์ พระเจ้ากือนาจึงสั่งให้คน บูรณะวัดเวฬุกัฏฐาราม เพื่ออาราธนาพระมหาเถระจันทร์จำพรรษาทีวัดแห่งนี้ และตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” ตามชื่อของพระมหาเถระจันทร์ มีการซ่อมแซมเจดีย์โดยการพอกปูน สร้างอุโมงค์ไว้ทางทิศเหนือจากเจดีย์ ในอุโมงค์มีทางเดิน 4 ช่องซึ่งเชื่อมต่อกันได้

ราชวงศ์มังรายล่มสลาย เมื่อปี พ.ศ. 2106 เปลี่ยนเป็นพม่าปกครองล้านนา ทำให้วัดอุโมงค์ขาดการทำนุบำรุง ปล่อยให้ร้าง ปรักหักพังเรื่อยๆ ต่อมา เจ้าชื่น สิโรรส ได้จัดการแผ้วถางบูรณะวัดนี้ และสร้างกุฏิหลังใหม่เพิ่ม จากนั้นจึงนินต์พระภิกษุปัญญานันทะจากสวนโมกข์ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มาจำพรรษา และท่านได้เผยแพร่ศาสนาสืบไป
วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่
บรรยากาศภายนอกวัดอุโมงค์

เพิ่มคำอธิบายภาพ

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่
มีคำคมต่างๆ บริเวณวัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่
เจดีย์วัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่
เจดีย์วัดอุโมงค์

Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น